เมนู

5 กามาวจรสวรรค์ 6 ชั้น สิริเป็น 1 ชั้นด้วยกัน จึงจะว่าให้เห็นว่า ที่ตัณหาอุปาทาน อันเป็น
ปัจจัยอุดหนุน ฝ่ายอกุศลนั้นก็ให้สัตว์ลงไปทนทุกข์ในนรกและอบายดังนี้ เรียกว่าฝ่ายบาป
ฝ่ายบุญนั้น ตัณหาอุปาทานก็ค้ำชูอุดหนุนให้กระทำบุญ ก็ได้เกิดในตระกูลมนุษย์เป็นกษัตริย์
มหาศาล พราหมณ์มหาศาล คฤหบดีมหาศาล และเป็นเทพบุตรเทพธิดาในฉกามาวจรสวรรค์
ดังนี้ ชื่อว่ากามตัณหา เหตุฉะนี้พระนาคเสนจึงวิสัชนาให้ชัดว่า ตัณหากับอุปาทานนี่แหละเป็น
ปัจจัยอุดหนุนมั่นคง คือที่จะทำบุญและกรรม
ประการหนึ่ง จะสำแดงด้วยภวตัณหา ภาตัณหานั้นได้แก่บุคคลจำเริญรูปฌาน ได้ไป
เกิดในรูปพรหม 16 ชั้น วิภวตัณหานั้นได้แก่บุคคลจำเริญอรูปฌาน ได้ขึ้นไปเกิดในอรูปพรหม
ประการหนึ่ง ถึงว่าจะได้พระโสดาปัตติผลก็ดี พระสกิทาคามิผลก็ดี พระอนาคามิผลก็ดี ยังมี
ตัณหาอุปาทานเป็นปัจจัยค้ำชูให้กระทำกุศลอยู่ ได้ไปเกิดในภพเบื้องบน เหตุฉะนั้นพระนาคเสน
ผู้เป็นองค์เอกอรหันต์ จึงวิสัชนาว่า ตัณหาอุปาทานนี้เป็นปัจจัยอุดหนุนให้กระทำกุศล ต่อเนื่อง
ได้สำเร็จพระอรหันต์ผลแล้ว จึงจะขาดจากตัณหาอุปาทานเข้าพระนิพพานไป ท่านสาธุสัตบุรุษ
จงสันนิษฐานเข้าใจด้วยประการดังนี้
ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชาชาวสาคลนครได้ฟังปัญหาพยากรณ์ของพระนาคเส
แก้ไข มีน้ำพระทัยชื่นบานหรรษาตรัสว่า กลฺโสิ สธุสะพระผู้เป็นเจ้าวิสิชนานี้สมควรอยู่แล้ว
ปุริมโกฏิปัญหา คำรบ 2 จบเท่านี้

โกฏิยาปุริมปัญหา ที่ 3


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นธรณีมีพระราชโองการตรัสถามอรรถปริศนาอันอื่นต่อไปว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ผู้เป็นเจ้ากล่าวกับโยมไว้ว่า ที่สุดเบื้องต้นแห่งกาล
ปรากฏนั้นอย่างไร
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ได้แก่สิ่งที่
ไม่มีแต่ก่อนเลย กลับมีขึ้นแล้วพลัดพรากไป นี่แหละเรียกว่าที่สุดเบื้องต้นแห่งกาลปรากฏ
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมิทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ที่พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่าสิ่ง

ที่ไม่มีเลย มามีขึ้นแล้วพลัดพรากจากไป ซึ่งคำทั้งสองว่าไม่มีกับพลัดพรากไปนี้ ข้อความอย่างไร
และสิ่งทั้งสองซึ่งว่าไม่มีกับว่าพลัดพรากไปนี้ จะถึงซึ่งภาวะมีอรรถมีความแจ้งออกประการใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า ถ้าแม้นบพิตรสงสัยว่า สิ่งไม่มีและพลัดพรากไปนั้นไม่
ได้ความ คงจะได้ความ
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงถามว่า พระผู้เป็นเจ้าจะให้โยมรู้โดยความทั้ง 2 นั้นจะได้หรือไม่ได้
พระนาคเสนถวายพระพรไปว่า อาตมาอาจจะให้เข้าพระทัยโดยอรรถทั้ง 1 นั้นได้
ของถวายพระพร
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากรจึงมีพระบวรราชโองการตรัสว่า ใช่ โยมจะถามเท่านี้หา
มิได้ พระผู้เป็นเจ้าอาจจะแก้ได้ โดยที่สุดเบื้องต้นปรากฏ ให้แจ้งออกจะได้หรือไม่ได้
พระนาคเสนถวายพระพรว่า ได้
พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงนิมนต์ให้พระนาคเสนอุปมา
พระนาคเสน จึงอุปมาต่อไปให้พระเจ้ากรุงมิลินท์ฟังว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระ
ราชสมภาร เปรียบปานดุจต้นไม้เดิมนั้นไม่มี คือยังไม่เกิดเป็นต้น ครั้นพืชนั้นคนนำมาปลูกก็
เป็นใบก่อนจึงเป็นต้น นี่แหละได้ชื่อว่าเดิมไม่มีแล้วมีขึ้น ที่ว่ามีขึ้นแล้วหายไปนั้น ได้แก่ลูกไม้มี
ตามฤดู ครั้นสิ้นฤดูแล้ววายไป มีเดิมปรากฏนั้นได้แก่พืช
พระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นสาคลนคร ได้ทรงสดับปัญหาพยากรณ์มีพระทัยโสมนัสยินดี
ยอกรอัญชลีให้สาธุการว่า พระผู้เป็นเจ้าแก้ไขข้ออรรถปัญหานี้ สมควรแล้ว
โกฏิยาปุริมปัญหา คำรบ 3 จบเท่านี้

สังขารชายนปัญหา ที่ 4


ราชา

สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต
นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สังขารธรรมสิ่งไรที่มีแล้วและเกิดขึ้นอีกนั้น
พระนาคเสนองค์อรหันต์ท่านจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช-
สมภาร สังขารที่มีอยู่แล้วเกิดขึ้นอีกนั้นได้แก่จักขุกับรูป รูปมีแล้วจักขุวิญญาณก็บังเกิดขึ้น เมื่อ
จักขุวิญญาณมีแล้วจักขุผัสสะก็บังเกิดขึ้น เมื่อจักขุผัสสะมีแล้วเวทนาก็บังเกิดขึ้น เมื่อเวทนา
บังเกิดแล้วตัณหาก็บังเกิดขึ้นเมื่อตัณหามีแล้วอุปทานก็บังเกิด เมื่ออุปาทานมีแล้วภวะก็บังเกิด
เมื่อภวะมีแล้วชาติก็บังเกิด เมื่อชาติมีแล้ว ชราและมรณะและโสกปริเทวนาการอาลัยไห้สะอื้นก็
บังเกิด ทุกฺขกฺขนฺสฺส สมุทโย กองทุกข์ทั้งปวงนั้นก็มีขึ้นสิ้น ขอถวายพระพร
ฝ่ายว่าพระนาคเสนพยากรณ์แก้ไขด้วยจักขุดังพรรณนามานี้แล้ว จึงแก้ไขด้วยโสตะ
และสัททะ แก้ไขด้วยคันธะกับฆานะด้วยชิวหากับรส แก้ไขด้วยกายกับโผฏฐัพพะ มีนัยเหมือน
จักขุกับรูปนั้นแล้ว ก็วิสัชนาด้วยมโนกับธรรมอันอาศัยกันแล้วบังเกิด ก็มีนัยเหมือนกันกับจักขุ
กับรูปนั้น เป็นที่จะก่อทุกข์ทั้งสิ้นให้บังเกิดมี ให้สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีทรงฟัง
ฉะนี้แล้ว
พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าสำแดงซึ่งพระนิโรธต่อไปดังนี้ว่า มหาราช ขอถวายพระ
พรบพิตรพระราชสมภารมหิศราธิบดี อันว่าสังขารคือจักขุไม่มี รูปไม่มี รูปกับจักขุอาศัยแก่กัน
ไม่มีแล้ว จักขุวิญญาณที่จะรู้ด้วยจักขุว่า รูปอันนั้นอันนี้ก็มิได้เกิด เมื่อจักขุวิญญาณมิได้มีแล้ว
จักขุสัมผัสคือกระทบจักขุให้เกิดเวทนาเสวยอารมณ์เป็นโสมนัสเป็นโทมนัสก็มิได้เกิด เมื่อจักขุ
สัมผัสไม่มีแล้ว เวทนาเสวยอารมณ์คือรูปารมณ์เป็นโสมนัสอุเบกขาก็ไม่เกิด เมื่อเวทนา
ไม่มีแล้ว ตัณหาความปรารถนาก็ไม่เกิด เมื่อตัณหาไม่มีแล้ว อุปาทานคือถือมั่นในความปรารถ-
นานั้นก็ไม่เกิด เมื่ออุปาทานไม่มีแล้ว ภวะคือจะให้ไปเกิดในภพทั้ง 3 คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ
นั้นก็มิได้เกิด เมื่อเกิดในภพทั้ง 3 ไม่มีแล้ว ชาติที่จะเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 เป็นเปรต เป็นอสุรกาย
เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์เดียรฉาน และเกิดเป็นมนุษย์เทวดา เป็นรูปพรหม เป็นพรหมหารูปมิได้
และชาติจะเกิดไปดังนี้ก็มิได้เกิด เมื่อชาติมิได้มีแล้ว จะได้มีชราและมรณะหามิได้ ไม่มีแก่ไม่มีตาย
อนึ่งปริเทวนาคือจะฟูมฟายน้ำตาโศกโศกา และอุปายาสอันสะอื้นไห้อาลัยหา ด้วยสิ่งอันมาวิโยค
พลัดพรากตายจากกันก็บห่อนมีดังนี้แล เรียกว่าทุกขักขันธนิโรธ ดับเสียซึ่งกองทุกข์ทั้งปวง
ขอถวายพระพร